วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ความเป็นมา
             บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้แต่ง : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี    
            สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ เช่น ด้านดนตรีไทย ทรงพระปรีชาสามารถในการขับร้องเพลงและทรงบรรเลงดนตรีไทยได้หลายประเภท ด้านภาษาและวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง  และงานแปลงานพระราชนิพนธ์ที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร ผีเสื้อแก้วจอมแก่น แก้วจอมซน ดั่งดวงแก้ว  เป็นต้น  ทั้งนี้ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะทรงใช้พระนามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย  อ่านเพิ่มเติม
                     
                                                             
                                                      เพลง เปิบข้าว
                      
                      เปิบข้าวทุกคราวคำ                           จงสูจำเป็นอาจิณ                                                  
                เหงื่อกูที่สูกิน                                          จึงก่อเกิดมาเป็นคน
                       ข้าวนี้น่ะมีรส                                     ให้ชนชิมทุกชั้นชน
                เบื้องหลังซิทุกข์ทน                                และขมขื่นจนเขียวคาว
                       จากแรงมาเป็นรวง                           ระยะทางนั้นเหยียดยาว
                จากรวงเป็นเม็ดพราว                              ล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ
                       เหงื่อหยดสักกี่หยาด                       ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
                ปูดโปนกี่เส้นเอ็น                                    จึงแปรรวงมาเป็นกิน
                       น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                            และน้ำแรงอันหลั่งริน
                สายเลือดกูทั้งสิ้น                                    ที่สูซดกำซาบฟัน


วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

หัวใจชายหนุ่ม

.ความเป็นมา
     หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิตเมื่อ พ..๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน
.ประวัติผู้แต่ง
      พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ทรงครองราชย์ (พ.๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร อ่านเพิ่มเติม

มงคลสูตรคำฉันท์

มงคลสูตรคำฉันท์  เป็นวรรณคดี  คำสอน  ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติ ปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น  หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย

         ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
       ลักษณะคำประพันธ์ :  กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ แทรกคาถาบาลี
       จุดมุ่งหมายในการแต่ง : เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้  นอกจากตัวเราเอง อ่านเพิ่มเติม

พระเวสสันดรชาดก

   มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม  และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ  ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า  การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มาก อ่านเพิ่มเติม